Menu Close

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (Gems and Jewelry Industry)

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (Gems andJewelry Industry)

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (Gems andJewelry Industry)

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (Gems andJewelry Industry) เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แม้เศรษฐกิจโลกกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักแต่แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในภาพรวม ยังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อการขับ เคลื่อนเศรษฐกิจในระดับประเทศเนื่องจาก อุตสาหกรรมดังกล่าวมีจำนวนผู้ประกอบการและแรงงานในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก อาทิ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมการเจียระไนอุตสาหกรรมการออกแบบ อุตสาหกรรมการผลิตและ ประกอบตัวเรือน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือเครื่องจักรในการเจียระไนพลอย และอุตสาหกรรมการทำวัสดุหีบห่อ
 
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทยจำแนกตามโครงสร้างอุตสาหกรรมได้ 2 กลุ่ม คือ

1.อุตสาหกรรมอัญมณี 

 อุตสาหกรรมอัญมณี ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรม เจียระไนเพชร (Diamond) และพลอย (Gems)
  • อุตสาหกรรมการเจียระไนเพชร ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงและส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของต่างชาติหรือเป็นการร่วมทุนระหว่างไทยกับต่างชาติที่มาจากประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการเจียระไนเพชร เช่น เบลเยียม อิสราเอล และอังกฤษโดยมีการนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักรและเทคโนโลยี เพื่อมาใช้แรงงานฝีมือในไทย
  • อุตสาหกรรมเจียระไนพลอย เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพด้านคุณภาพการผลิตผู้ประกอบการมีการใช้
เทคนิคในการหุงพลอยที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก มีจุดแข็งด้านทักษะฝีมือแรงงานและความประณีต การใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ไม่ซับซ้อน การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงยังไม่แพร่หลายนัก สถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก อยู่ในบริเวณจังหวัดที่เป็นแหล่งวัตถุดิบพลอยที่สำคัญในอดีต เช่น จันทบุรีตราด และกาญจนบุรี
 

2.อุตสาหกรรมเครื่องประดับ 

อุตสาหกรรมเครื่องประดับ แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ เครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียม
  • เครื่องประดับแท้ได้แก่เครื่องประดับเงินเครื่องประดับทอง และแพลทินัม เป็นต้น
  • เครื่องประดับเทียม ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่ท าขึ้นจากวัตถุ
ที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติและอัญมณีสังเคราะห์ (CreatedGems Stone) เป็นต้น
ประเทศไทยมีผู้ผลิตเครื่องประดับเพชรและพลอยเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม มีการใช้แรงงานตั้งแต่การออกแบบคัดแยกอัญมณี การประกอบตัวเรือน ที่อาศัยแรงงานมีทักษะ ความชำนาญ และความประณีตในการผลิตผู้ประกอบการที่ผลิตเพื่อส่งออกจะเป็นสถานประกอบการและโรงงานขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรและเทคโนโลยีสูง และต้องมีการลงทุนเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบ
 
โครงสร้างของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสามารถแบ่งได้ตามห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มของกระบวนการผลิตซึ่งมีการผลิตและส่งต่อกันเป็นทอด
 

 

อุตสาหกรรม ต้นทาง

1) ด้านวัตถุดิบเนื่องจากวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติโดยมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรมเหมืองพลอย อุตสาหกรรมผลิตไข่มุก ทั้งนี้วัตถุดิบส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น เพชร ทองคำไข่มุกน้ำเค็ม อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีแหล่งวัตถุดิบบางประเภทภายในประเทศ เช่น พลอย มีแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญๆ คือ จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี ตราด และกระบี่
 
2) การนำเข้าวัตถุดิบ ปัจจุบันไทยได้นำเข้าอัญมณีก้อนจากเหมืองของประเทศออสเตรเลีย แอฟริกา เวียดนาม จีนอินเดีย บอสสวานา นามีเบีย รัสเซีย โมซัมบิก รวมทั้ง
สหภาพเมียนมาร์ ซึ่งเป็นแหล่งนำเขาพลอยเนื้อแข็งโดยเฉพาะทับทิม เพื่อนำมาผ่านกระบวนการเพิ่มมูลค่าหรือเจียระไนนอกจากนี้ยังมีการนำเข้าเพชรหรือพลอยก้อนจากประเทศที่เป็นตลาดซื้อขายด้วย เช่น เบลเยียมอิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สวิสเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ในกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าอัญมณีพบว่า มีหลายประเทศที่พัฒนาขึ้นมาจนสามารถทำกิจกรรมเช่นเดียวกับไทย อาทิ อินโดนีเซีย สปป.ลาวจีน อินเดีย และศรีลังกาไทยมีการนำเข้าพลอยเนื้อแข็งเจียระไนแล้วบางส่วนด้วยเช่นกัน เนื่องจากนโยบายของประเทศคู่ค้าที่ต้องการเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าพลอย รวมทั้งส่วนหนึ่งมาจากแรงงานฝีมือของไทยขาดแคลน มีค่าแรงสูงขึ้น ทำให้เริ่มมีการนำเข้าพลอยเนื้อแข็งเจียระไนแล้วจากประเทศคู่ค้ามากขึ้น ส่วนแหล่งนำเข้าเพชรขนาดเล็กของไทย คือ อินเดียซึ่งไทยนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับเพชรเพื่อการส่งออก
 

อุตสาหกรรมกลางทาง

 3) ด้านการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น เป็นการแปรรูปวัตถุดิบเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งรวมถึงการคัดแยกการเจียระไน การขึ้นรูปตัวเรือน การหุงพลอย เพื่อให้ได้สีสัน เหลี่ยมมุม ที่งดงาม ซึ่งในกระบวนการนี้ต้องอาศัยแรงงานทักษะฝีมือเป็นอย่างมากผู้ประกอบการไทยจะส่งออกอัญมณีที่ได้ผ่านกระบวนการเพิ่มมูลค่าแล้วหรือพลอยเจียระไนไปที่ประเทศคู่ค้า เช่น ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ญี่ปุ่น อิตาลี สวิสตเซอร์แลนด์ เป็นต้น เพื่อนำไปผลิตเครื่องประดับอีกต่อหนึ่งอัญมณีอีกส่วนหนึ่งจะถูกน าไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับแท้ทองค าหรือเงินในไทย ก่อนจะส่งต่อไปยังประเทศคู่ค้าใน ตลาดสำคัญ ๆ  ช่นอิตาลี อินเดีย สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฮ่องกงสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป และประเทศในเอเชียตะวันออก โดยมีประเทศที่ทำกิจกรรมการผลิตเครื่องประดับแท้เช่นเดียวกับไทยซึ่งอาจถือเป็นคู่แข่งของไทยโดยตรงเช่น อิตาลี สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย และจีนนอกจากนี้ยังมีคู่แข่งอื่นๆ ที่เติบโตเร็วในกิจกรรมการผลิตเครื่องประดับแท้ อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนามออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เป็นต้นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต
และการสกัดโลหะมีค่าเพื่อนำกลับมาใช้และการทดสอบโลหะมีค่า ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการผลิตอยู่ 2 แบบ คือ กรรมวิธีทางเคมีและกรรมวิธีทางไฟฟ้า
 

อุตสาหกรรมปลายทาง

 4) ด้านการผลิตเครื่องประดับเป็นการนำวัตถุดิบที่ผ่านการแปรรูปเบื้องต้นมาประกอบขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ โดยกรรมวิธีการผลิตขึ้นอยู่กับตลาดที่ตั้งเป้าไว้ ตัวอย่างเช่น ตลาดระดับบนจะนิยมงาน
ที่ผลิตด้วยมือ ส่วนกลุ่มตลาดกลางและล่างจะใช้เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักร ทั้งนี้ในขั้นตอนนี้การออกแบบให้เกิดความโดดเด่นผลิตภัณฑ์ การสร้างเอกลักษณ์ รวมไปถึงความน่าเชื่อถือของตราสินค้า
เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมนี้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมชุบตัวเรือนและชิ้นส่วนเครื่องประดับ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและตัวเรือนเครื่องประดับสำเร็จรูป อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ต้นแบบ อุตสาหกรรมการผลิตยาง ขี้ผึ้ง และปูนปลาสเตอร์ที่ใช้ทำแม่พิมพ์
 
5) ด้านช่องทางการจ าหน่ายเป็นการสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย ควบคู่กับการสร้างการยอมรับตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับธุรกิจนี้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ความน่าเชื่อถือ
ของผู้จัดจำหน่าย ซึ่งครอบคลุมถึงการรับประกันในตัวผลิตภัณฑ์ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้แก่ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมกำรตลาดและโฆษณอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการขนส่ง และอุตสาหกรรมการประกันภัย
 
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กำลังเผชิญข้อท้าทายจากการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วยความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมทั้งการเกิดขึ้นของคู่แข่งใหม่ วัตถุดิบหลักเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและราคาวัตถุดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวน แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับควรต้องสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานซึ่งประกอบด้วย
 
  • การพัฒนาแหล่งวัตถุดิบและพัฒนากระบวนการจัดหาวัตถุดิบ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากการผันผวนเรื่องราคาและช่วยให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนด้านการจัดเก็บวัตถุดิบ เช่น การสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของผู้ผลิตในไทย การสนับสนุนให้เกิดการส ารวจแหล่งแร่ในประเทศและต่างประเทศ
  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแรงงานฝีมือ สนับสนุนให้มีฝึกอบรมสร้างทักษะเฉพาะทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงงานฝีมือรุ่นใหม่และการน าองค์ความรู้กระบวนการผลิตใหม่มาถ่ายทอดและประยุกต์ใช้
  • การพัฒนากระบวนการผลิตและการพัฒนามาตรฐานควรมีการสนับสนุนการใช้เครื่องมือเครื่องจักรและเทคโนโลยีขั้นสูงทั้งในกระบวนการผลิตและกระบวนการตรวจสอบมาตรฐาน โดยสร้างเครือข่ายทางภาครัฐและเอกชน
 
        จากข้อมูลข้างต้นทาง บริษัท สยามวอเตอร์เฟลม จำกัด จึงได้คิดค้นนวัตกรรม เพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดจำกัดในการผลิต ของผู้ประกอบการทุกท่านด้วย เครื่อง Hydrogen GAS generator เครื่องผลิตก๊าซไฮโดรเจน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลายๆอุตสาหกรรม นั้นเพราะว่า ก๊าซไฮโดรเจนนั้น สามารถเป็นพลังงานทดแทน ในการให้ความร้อน สำหรับงาน ตัด เชื่อม จิวเวลลี่ หรือโลหะมีค่าต่างๆ ด้วยเทคโนโลยยีอิเล็กโตรไลซิส ในการแยกน้ำ เป็นก๊าซออกซิเจนและไฮโดรเจน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ส่งผลให้มีความปลอดภัยกว่าการใช้แก๊ส LPG หรือแก๊สอะเซทิลีน ซึ่งมีโอกาศเกิดอุบัติเหตุได้ อีกทั้งยังเป็นอันตรายกับผู้ใช้งานเมื่อมีการสูดดมแก๊สอย่างต่อเนื่อง ด้วยเครื่องผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำของเรา ผู้ใช้จึงมั่นใจได้ว่า การทำงานจะมีความปลอดภัยมากขึ้น สามารถผลิตชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน 
 
#hydrogen #hydrogengenerator #fire #water #jewelry #dental #acrylic #metal #ไฮโดรเจน #น้ำ #ไฟ #จิวเวลรี่ #งานเชื่อม #เพชร #lpg #welding #gaswelding #hydrogenwelding #goldwelding #jewelrywelding #ขาต๊ะ #พลังงานทดแทน #ชุดหลอมทอง #เชื่อมแก๊ส #รักโลก #สิ่งแวดล้อม #อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (Gems andJewelry Industry)

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (Gems andJewelry Industry) เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แม้เศรษฐกิจโลกกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักแต่แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในภาพรวม ยังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อการขับ เคลื่อนเศรษฐกิจในระดับประเทศเนื่องจาก อุตสาหกรรมดังกล่าวมีจำนวนผู้ประกอบการและแรงงานในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก อาทิ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมการเจียระไนอุตสาหกรรมการออกแบบ อุตสาหกรรมการผลิตและ ประกอบตัวเรือน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือเครื่องจักรในการเจียระไนพลอย และอุตสาหกรรมการทำวัสดุหีบห่อ
 
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทยจำแนกตามโครงสร้างอุตสาหกรรมได้ 2 กลุ่ม คือ

1.อุตสาหกรรมอัญมณี 

 อุตสาหกรรมอัญมณี ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรม เจียระไนเพชร (Diamond) และพลอย (Gems)
  • อุตสาหกรรมการเจียระไนเพชร ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงและส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของต่างชาติหรือเป็นการร่วมทุนระหว่างไทยกับต่างชาติที่มาจากประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการเจียระไนเพชร เช่น เบลเยียม อิสราเอล และอังกฤษโดยมีการนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักรและเทคโนโลยี เพื่อมาใช้แรงงานฝีมือในไทย
  • อุตสาหกรรมเจียระไนพลอย เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพด้านคุณภาพการผลิตผู้ประกอบการมีการใช้
เทคนิคในการหุงพลอยที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก มีจุดแข็งด้านทักษะฝีมือแรงงานและความประณีต การใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ไม่ซับซ้อน การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงยังไม่แพร่หลายนัก สถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก อยู่ในบริเวณจังหวัดที่เป็นแหล่งวัตถุดิบพลอยที่สำคัญในอดีต เช่น จันทบุรีตราด และกาญจนบุรี
 

2.อุตสาหกรรมเครื่องประดับ 

อุตสาหกรรมเครื่องประดับ แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ เครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียม
  • เครื่องประดับแท้ได้แก่เครื่องประดับเงินเครื่องประดับทอง และแพลทินัม เป็นต้น
  • เครื่องประดับเทียม ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่ท าขึ้นจากวัตถุ
ที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติและอัญมณีสังเคราะห์ (CreatedGems Stone) เป็นต้น
ประเทศไทยมีผู้ผลิตเครื่องประดับเพชรและพลอยเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม มีการใช้แรงงานตั้งแต่การออกแบบคัดแยกอัญมณี การประกอบตัวเรือน ที่อาศัยแรงงานมีทักษะ ความชำนาญ และความประณีตในการผลิตผู้ประกอบการที่ผลิตเพื่อส่งออกจะเป็นสถานประกอบการและโรงงานขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรและเทคโนโลยีสูง และต้องมีการลงทุนเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบ
 
โครงสร้างของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสามารถแบ่งได้ตามห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มของกระบวนการผลิตซึ่งมีการผลิตและส่งต่อกันเป็นทอด
 
 

 

อุตสาหกรรม ต้นทาง

1) ด้านวัตถุดิบเนื่องจากวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติโดยมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรมเหมืองพลอย อุตสาหกรรมผลิตไข่มุก ทั้งนี้วัตถุดิบส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น เพชร ทองคำไข่มุกน้ำเค็ม อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีแหล่งวัตถุดิบบางประเภทภายในประเทศ เช่น พลอย มีแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญๆ คือ จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี ตราด และกระบี่
 
2) การนำเข้าวัตถุดิบ ปัจจุบันไทยได้นำเข้าอัญมณีก้อนจากเหมืองของประเทศออสเตรเลีย แอฟริกา เวียดนาม จีนอินเดีย บอสสวานา นามีเบีย รัสเซีย โมซัมบิก รวมทั้ง
สหภาพเมียนมาร์ ซึ่งเป็นแหล่งนำเขาพลอยเนื้อแข็งโดยเฉพาะทับทิม เพื่อนำมาผ่านกระบวนการเพิ่มมูลค่าหรือเจียระไนนอกจากนี้ยังมีการนำเข้าเพชรหรือพลอยก้อนจากประเทศที่เป็นตลาดซื้อขายด้วย เช่น เบลเยียมอิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สวิสเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ในกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าอัญมณีพบว่า มีหลายประเทศที่พัฒนาขึ้นมาจนสามารถทำกิจกรรมเช่นเดียวกับไทย อาทิ อินโดนีเซีย สปป.ลาวจีน อินเดีย และศรีลังกาไทยมีการนำเข้าพลอยเนื้อแข็งเจียระไนแล้วบางส่วนด้วยเช่นกัน เนื่องจากนโยบายของประเทศคู่ค้าที่ต้องการเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าพลอย รวมทั้งส่วนหนึ่งมาจากแรงงานฝีมือของไทยขาดแคลน มีค่าแรงสูงขึ้น ทำให้เริ่มมีการนำเข้าพลอยเนื้อแข็งเจียระไนแล้วจากประเทศคู่ค้ามากขึ้น ส่วนแหล่งนำเข้าเพชรขนาดเล็กของไทย คือ อินเดียซึ่งไทยนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับเพชรเพื่อการส่งออก
 

อุตสาหกรรมกลางทาง

 3) ด้านการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น เป็นการแปรรูปวัตถุดิบเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งรวมถึงการคัดแยกการเจียระไน การขึ้นรูปตัวเรือน การหุงพลอย เพื่อให้ได้สีสัน เหลี่ยมมุม ที่งดงาม ซึ่งในกระบวนการนี้ต้องอาศัยแรงงานทักษะฝีมือเป็นอย่างมากผู้ประกอบการไทยจะส่งออกอัญมณีที่ได้ผ่านกระบวนการเพิ่มมูลค่าแล้วหรือพลอยเจียระไนไปที่ประเทศคู่ค้า เช่น ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ญี่ปุ่น อิตาลี สวิสตเซอร์แลนด์ เป็นต้น เพื่อนำไปผลิตเครื่องประดับอีกต่อหนึ่งอัญมณีอีกส่วนหนึ่งจะถูกน าไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับแท้ทองค าหรือเงินในไทย ก่อนจะส่งต่อไปยังประเทศคู่ค้าใน ตลาดสำคัญ ๆ  ช่นอิตาลี อินเดีย สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฮ่องกงสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป และประเทศในเอเชียตะวันออก โดยมีประเทศที่ทำกิจกรรมการผลิตเครื่องประดับแท้เช่นเดียวกับไทยซึ่งอาจถือเป็นคู่แข่งของไทยโดยตรงเช่น อิตาลี สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย และจีนนอกจากนี้ยังมีคู่แข่งอื่นๆ ที่เติบโตเร็วในกิจกรรมการผลิตเครื่องประดับแท้ อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนามออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เป็นต้นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต
และการสกัดโลหะมีค่าเพื่อนำกลับมาใช้และการทดสอบโลหะมีค่า ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการผลิตอยู่ 2 แบบ คือ กรรมวิธีทางเคมีและกรรมวิธีทางไฟฟ้า
 
 

 

อุตสาหกรรมปลายทาง

 4) ด้านการผลิตเครื่องประดับเป็นการนำวัตถุดิบที่ผ่านการแปรรูปเบื้องต้นมาประกอบขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ โดยกรรมวิธีการผลิตขึ้นอยู่กับตลาดที่ตั้งเป้าไว้ ตัวอย่างเช่น ตลาดระดับบนจะนิยมงาน
ที่ผลิตด้วยมือ ส่วนกลุ่มตลาดกลางและล่างจะใช้เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักร ทั้งนี้ในขั้นตอนนี้การออกแบบให้เกิดความโดดเด่นผลิตภัณฑ์ การสร้างเอกลักษณ์ รวมไปถึงความน่าเชื่อถือของตราสินค้า
เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมนี้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมชุบตัวเรือนและชิ้นส่วนเครื่องประดับ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและตัวเรือนเครื่องประดับสำเร็จรูป อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ต้นแบบ อุตสาหกรรมการผลิตยาง ขี้ผึ้ง และปูนปลาสเตอร์ที่ใช้ทำแม่พิมพ์
 
5) ด้านช่องทางการจ าหน่ายเป็นการสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย ควบคู่กับการสร้างการยอมรับตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับธุรกิจนี้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ความน่าเชื่อถือ
ของผู้จัดจำหน่าย ซึ่งครอบคลุมถึงการรับประกันในตัวผลิตภัณฑ์ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้แก่ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมกำรตลาดและโฆษณอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการขนส่ง และอุตสาหกรรมการประกันภัย
 
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กำลังเผชิญข้อท้าทายจากการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วยความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมทั้งการเกิดขึ้นของคู่แข่งใหม่ วัตถุดิบหลักเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและราคาวัตถุดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวน แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับควรต้องสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานซึ่งประกอบด้วย
 
  • การพัฒนาแหล่งวัตถุดิบและพัฒนากระบวนการจัดหาวัตถุดิบ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากการผันผวนเรื่องราคาและช่วยให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนด้านการจัดเก็บวัตถุดิบ เช่น การสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของผู้ผลิตในไทย การสนับสนุนให้เกิดการส ารวจแหล่งแร่ในประเทศและต่างประเทศ
  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแรงงานฝีมือ สนับสนุนให้มีฝึกอบรมสร้างทักษะเฉพาะทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงงานฝีมือรุ่นใหม่และการน าองค์ความรู้กระบวนการผลิตใหม่มาถ่ายทอดและประยุกต์ใช้
  • การพัฒนากระบวนการผลิตและการพัฒนามาตรฐานควรมีการสนับสนุนการใช้เครื่องมือเครื่องจักรและเทคโนโลยีขั้นสูงทั้งในกระบวนการผลิตและกระบวนการตรวจสอบมาตรฐาน โดยสร้างเครือข่ายทางภาครัฐและเอกชน
 
จากข้อมูลข้างต้นทาง บริษัท สยามวอเตอร์เฟลม จึงได้คิดค้นนวัตกรรม เพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดจำกัดในการผลิต ของผู้ประกอบการทุกท่านด้วย เครื่อง Hydrogen GAS generator เครื่องผลิตก๊าซไฮโดรเจน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลายๆอุตสาหกรรม นั้นเพราะว่า ก๊าซไฮโดรเจนนั้น สามารถเป็นพลังงานทดแทน ในการให้ความร้อน สำหรับงาน ตัด เชื่อม จิวเวลลี่ หรือโลหะมีค่าต่างๆ ด้วยเทคโนโลยยีอิเล็กโตรไลซิส ในการแยกน้ำ เป็นก๊าซออกซิเจนและไฮโดรเจน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ส่งผลให้มีความปลอดภัยกว่าการใช้แก๊ส LPG หรือแก๊สอะเซทิลีน ซึ่งมีโอกาศเกิดอุบัติเหตุได้ อีกทั้งยังเป็นอันตรายกับผู้ใช้งานเมื่อมีการสูดดมแก๊สอย่างต่อเนื่อง ด้วยเครื่องผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำของเรา ผู้ใช้จึงมั่นใจได้ว่า การทำงานจะมีความปลอดภัยมากขึ้น สามารถผลิตชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน 
 
#hydrogen #hydrogengenerator #fire #water #jewelry #dental #acrylic #metal #ไฮโดรเจน #น้ำ #ไฟ #จิวเวลรี่ #งานเชื่อม #เพชร #lpg #welding #gaswelding #hydrogenwelding #goldwelding #jewelrywelding #ขาต๊ะ #พลังงานทดแทน #ชุดหลอมทอง #เชื่อมแก๊ส #รักโลก #สิ่งแวดล้อม #อุตสาหกรรม

 

  PRODUCTS : HYDROGEN

  FACEBOOK : HYDROGEN GAS GENERATOR

 

error: ข้อมูลนี้ได้รับการคุ้มครอง !!