Menu Close

บรรยาย Net Zero คืออะไร

บรรยาย Net Zero คืออะไร

NET ZERO คืออะไร และดำเนินการอย่างไร

CARBON NEUTRALITY และ NET ZERO ต่างกันอย่างไร?

 

          การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศได้เลื่อนขึ้นเป็นวาระลำดับต้นๆ ของผู้นำทางธุรกิจ พร้อมๆ กันกับแนวคิดเรื่องความเป็นกลางของคาร์บอน (carbon neutrality) นั่นหมายความว่าการบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในระดับบริษัท ที่ตั้ง (site) สินค้า ตราสินค้า หรือเหตุการณ์ (event) โดยการตรวจวัด (measuring) ก่อน แล้วจึงดำเนินการลดการปลดปล่อยลงในระดับที่เป็นไปได้ และชดเชยปริมาณการปลดปล่อยที่เหลือลงในระดับเทียบเท่ากับปริมาณการปลดปล่อยที่ที่หลีกเลี่ยง (avoided) หรือการชดเชยการปลดปล่อย (offset) ในภายหลัง การดำเนินการนี้จะบรรลุเป้าหมายได้ด้วยการซื้อปริมาณคาร์บอนเพื่อชดเชยกับปริมาณการปลดปล่อยที่เหลืออยู่ให้เพียงพอ

 

       ในทางกลับกัน เป้าหมายสุทธิที่ศูนย์เป็นเป็นวัตถุประสงค์ที่ท้าทายยิ่งขึ้นหากต้องดำเนินการทั้งองค์กร และตลอดห่วงโซ่มูลค่า (value chain) เพราะมีความหมายว่าต้องมีการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (indirect) ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ต้นน้ำไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง ถือได้ว่าเป็นความท้าทายทีซับซ้อนระดับโลก เพราะบริษัทต่างๆ ไม่ได้ควบคุมห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมด

 

        องค์กรต่างๆ สามารถแบ่งปันความรับผิดชอบอย่างยุติธรรมต่อเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างไรในรายละเอียดได้ถูกกำหนดผ่านการริเริ่มแนวคิดการบรรลุเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative) ด้วยการร่วมรณรงค์กับโครงการ Race to Zero วิธีการในการจัดการกับการปลดปล่อยที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ต่างไปด้วย การนำก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศเป็นความจำเป็นที่ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในระยะยาว 

 

        การชดเชยก๊าซเรือนกระจกยอมรับได้ด้วยวิธีการบางวิธีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ในระยะยาว แต่ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าวิธีการเหล่านั้นสามารถใช้ได้ดีที่สุดในช่วงของมาตรการเปลี่ยนผ่านระยะสั้นสู่เส้นทางที่มุ่งสู่การปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์

 
งาน Bangkok Gems and Jewelry 2023

         

การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศเป็นประเด็นที่เร่งด่วนในยุคของเรา ทั้งรัฐบาล เมือง และบริษัทต่างๆ ต่างตั้งเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero target) พันธกิจในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สะท้อนความมุ่งมั่นต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม และภาวะผู้นำ

 

อย่างไรก็ตาม การประกาศความมุ่งมั่นนั้นง่ายกว่าการบรรลุเป้าหมาย นอกจากนั้นการมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องมากมายจึงอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย

 

เราจะบรรลุเป้าหมาย NET ZERO ได้อย่างไร?

 

การนำเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์มาใช้อยางแพร่หลายทั่วโลกเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการกับปัญหาสภาวะอากาศ ข้อตกลงปาริสมีเป้าหมายลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามรักษาอุณหภูมิให้อยู่ที่ระดับ 1.5 องศาเซลเซียส ในขณะเดียวกันมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าต้องหยุดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 และต้องบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิที่ศูนย์ไห้สำเร็จภายในกลางศตวรรษนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศให้ได้

 

          การบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ในระดับชาติต้องมีการลดการปลดปล่อยจากกิจกรรมทางธุรกิจปกติ (business as usual) อย่างครอบคลุมโดยการขจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศ’ บางประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดรวมทั้งญี่ปุ่น อังกฤษ และฝรั่งเศสต่างกำหนดเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิที่ศูนย์ในปี 2050 รวมทั้ง EU ที่วางเป้าหมายเดียวกันนี้ไว้เป็นหัวใจของโครงการ European Green Deal (ผู้แปล: European Green Deal มีแผนการดำเนินงานใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ และขจัดมลพิษ โดยมีเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050)

 
 
ติดตั้งเครื่องผลิตไฮโดรเจนในโรงงาน

          

คำจำกัดความในทางปฏิบัติของการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในบริบทขององค์กรที่เห็นพ้องทั่วไป คือ สภาวะที่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ภายในห่วยโซ่คุณค่าขององค์กรไม่ส่งผลผลกระทบสุทธิต่อสถาวะอากาศ ทั้งนี้ต้องมีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายทีสอดคล้องกับเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ที่ 1.5 องศาเซลเซียสตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยการขจัดก๊าซเรือนกระจกอย่างถาวรให้เท่ากับปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกเพื่อทำให้มีปริมาณการปลดปล่อยที่เป็นกลาง (neutralize) กับการปลดปล่อยบางประเภทที่ยากต่อการกำจัดที่ยังเหลืออยู่ (เฉพาะการปลดปล่อยที่ยากต่อการจำกัดเท่านั้น)

 

การเปลี่ยนแปลงระดับโลก

 

         ต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย เทคโนโลยี และ พฤติกรรมในระดับมหภาคเพื่อพิชิตเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในระดับโลกภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปาริสได้ ยกตัวอย่าง เช่น มีการคาดการณ์ว่าต้องมีการใช้พลังงานหมุนเวียน 70-80% ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั่วโลกภายในปี 2050 และ การคิดใหม่ว่าจะใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง และจะปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิตอาหารอย่างไรก็มีความสำคัญเช่นกัน การลงทุนในพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมต่างมีความสำคัญเช่นเดียวกับการพัฒนาเทคนิคการกำจัด และกักเก็บการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

           ในขณะที่การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องเป็นเป้าหมายของเรา การขจัดก๊าซเรือนกระจกยังคงความจำเป็นในบางภาคอุตสาหกรรมที่ยากที่จะบรรลุการปลดปล่อยเป็นศูนย์ เช่น อุตสาหกรรมการบิน การขจัดก๊าซเรือนกระจกสามารถดำเนินการได้หลายวิธ๊ จากวิธีธรรมชาติเช่นการฟื้นฟูผืนป่า และการเพิ่มการดูดซับคาร์บอนในดิน ถึงวิธีการใช้เทคโนโลยีเช่นการดักจับ และกักเก็บโดยตรง (capture and storage)

 

NET ZERO คืออะไร และดำเนินการอย่างไร

CARBON NEUTRALITY และ NET ZERO ต่างกันอย่างไร?
 
การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศได้เลื่อนขึ้นเป็นวาระลำดับต้นๆ ของผู้นำทางธุรกิจ พร้อมๆ กันกับแนวคิดเรื่องความเป็นกลางของคาร์บอน (carbon neutrality) นั่นหมายความว่าการบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในระดับบริษัท ที่ตั้ง (site) สินค้า ตราสินค้า หรือเหตุการณ์ (event) โดยการตรวจวัด (measuring) ก่อน แล้วจึงดำเนินการลดการปลดปล่อยลงในระดับที่เป็นไปได้ และชดเชยปริมาณการปลดปล่อยที่เหลือลงในระดับเทียบเท่ากับปริมาณการปลดปล่อยที่ที่หลีกเลี่ยง (avoided) หรือการชดเชยการปลดปล่อย (offset) ในภายหลัง การดำเนินการนี้จะบรรลุเป้าหมายได้ด้วยการซื้อปริมาณคาร์บอนเพื่อชดเชยกับปริมาณการปลดปล่อยที่เหลืออยู่ให้เพียงพอ
 
ในทางกลับกัน เป้าหมายสุทธิที่ศูนย์เป็นเป็นวัตถุประสงค์ที่ท้าทายยิ่งขึ้นหากต้องดำเนินการทั้งองค์กร และตลอดห่วงโซ่มูลค่า (value chain) เพราะมีความหมายว่าต้องมีการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (indirect) ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ต้นน้ำไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง ถือได้ว่าเป็นความท้าทายทีซับซ้อนระดับโลก เพราะบริษัทต่างๆ ไม่ได้ควบคุมห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมด
 

งาน Bangkok Gems and Jewelry 2023

องค์กรต่างๆ สามารถแบ่งปันความรับผิดชอบอย่างยุติธรรมต่อเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างไรในรายละเอียดได้ถูกกำหนดผ่านการริเริ่มแนวคิดการบรรลุเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative) ด้วยการร่วมรณรงค์กับโครงการ Race to Zero วิธีการในการจัดการกับการปลดปล่อยที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ต่างไปด้วย การนำก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศเป็นความจำเป็นที่ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในระยะยาว การชดเชยก๊าซเรือนกระจกยอมรับได้ด้วยวิธีการบางวิธีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ในระยะยาว แต่ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าวิธีการเหล่านั้นสามารถใช้ได้ดีที่สุดในช่วงของมาตรการเปลี่ยนผ่านระยะสั้นสู่เส้นทางที่มุ่งสู่การปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์
 
การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศเป็นประเด็นที่เร่งด่วนในยุคของเรา ทั้งรัฐบาล เมือง และบริษัทต่างๆ ต่างตั้งเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero target) พันธกิจในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สะท้อนความมุ่งมั่นต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม และภาวะผู้นำ
 
อย่างไรก็ตาม การประกาศความมุ่งมั่นนั้นง่ายกว่าการบรรลุเป้าหมาย นอกจากนั้นการมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องมากมายจึงอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย
 
เราจะบรรลุเป้าหมาย NET ZERO ได้อย่างไร?
การนำเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์มาใช้อยางแพร่หลายทั่วโลกเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการกับปัญหาสภาวะอากาศ ข้อตกลงปาริสมีเป้าหมายลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามรักษาอุณหภูมิให้อยู่ที่ระดับ 1.5 องศาเซลเซียส ในขณะเดียวกันมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าต้องหยุดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 และต้องบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิที่ศูนย์ไห้สำเร็จภายในกลางศตวรรษนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศให้ได้
 
การบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ในระดับชาติต้องมีการลดการปลดปล่อยจากกิจกรรมทางธุรกิจปกติ (business as usual) อย่างครอบคลุมโดยการขจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศ’ บางประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดรวมทั้งญี่ปุ่น อังกฤษ และฝรั่งเศสต่างกำหนดเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิที่ศูนย์ในปี 2050 รวมทั้ง EU ที่วางเป้าหมายเดียวกันนี้ไว้เป็นหัวใจของโครงการ European Green Deal (ผู้แปล: European Green Deal มีแผนการดำเนินงานใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ และขจัดมลพิษ โดยมีเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050)
 
ติดตั้งเครื่องผลิตไฮโดรเจนในโรงงาน
 
คำจำกัดความในทางปฏิบัติของการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในบริบทขององค์กรที่เห็นพ้องทั่วไป คือ สภาวะที่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ภายในห่วยโซ่คุณค่าขององค์กรไม่ส่งผลผลกระทบสุทธิต่อสถาวะอากาศ ทั้งนี้ต้องมีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายทีสอดคล้องกับเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ที่ 1.5 องศาเซลเซียสตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยการขจัดก๊าซเรือนกระจกอย่างถาวรให้เท่ากับปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกเพื่อทำให้มีปริมาณการปลดปล่อยที่เป็นกลาง (neutralize) กับการปลดปล่อยบางประเภทที่ยากต่อการกำจัดที่ยังเหลืออยู่ (เฉพาะการปลดปล่อยที่ยากต่อการจำกัดเท่านั้น)
 
การเปลี่ยนแปลงระดับโลก
ต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย เทคโนโลยี และพฤติกรรมในระดับมหภาคเพื่อพิชิตเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในระดับโลกภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปาริสได้ ยกตัวอย่างเช่น มีการคาดการณ์ว่าต้องมีการใช้พลังงานหมุนเวียน 70-80% ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั่วโลกภายในปี 2050 และการคิดใหม่ว่าจะใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง และจะปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิตอาหารอย่างไรก็มีความสำคัญเช่นกัน การลงทุนในพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมต่างมีความสำคัญเช่นเดียวกับการพัฒนาเทคนิคการกำจัด และกักเก็บการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
 
ในขณะที่การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องเป็นเป้าหมายของเรา การขจัดก๊าซเรือนกระจกยังคงความจำเป็นในบางภาคอุตสาหกรรมที่ยากที่จะบรรลุการปลดปล่อยเป็นศูนย์ เช่น อุตสาหกรรมการบิน การขจัดก๊าซเรือนกระจกสามารถดำเนินการได้หลายวิธ๊ จากวิธีธรรมชาติเช่นการฟื้นฟูผืนป่า และการเพิ่มการดูดซับคาร์บอนในดิน ถึงวิธีการใช้เทคโนโลยีเช่นการดักจับ และกักเก็บโดยตรง (capture and storage)
 
 
 
error: ข้อมูลนี้ได้รับการคุ้มครอง !!